ค่าไฟฟ้ากับนโยบายหาเสียง ไฟฟ้า 27 มีนาคม 2566   107 แท็ก : ค่าไฟฟ้า-นโยบาย

ปัจจุบันนโยบายพลังงานแห่งชาติมีกติกาการ กำหนดปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้า แบบ Reserve Margin หรือ กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรอง เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นแผนแม่บทที่ใช้มานานพอสมควร แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ประเทศไทย มีปริมาณโรงไฟฟ้าหมุนเวียนมากขึ้น หมายความว่า เมื่อให้ความสำคัญสถานะของโรงไฟฟ้าหมุนเวียนมากขึ้น ก็เท่ากับว่า การเกิดความไม่เสถียรในระบบก็มีมากขึ้นด้วย

การนำรูปแบบการผลิตแบบ กำลังไฟสำรอง หรือ Reserve Margin มาใช้ จึงไม่สามารถนำมาเป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดความมั่นคงของระบบพลังงานไฟฟ้าอีกต่อไป ซึ่งก็ทราบว่า พลังงานหมุนเวียน ที่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม มีข้อจำกัดมากมายและไม่คุ้มทุนด้วยซ้ำการใช้งานก็มีข้อจำกัดเช่นกัน 

ระบบกำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง เป็นการนำปริมาณที่ใช้ไฟสูงสุดของช่วงเวลา มาคำนวณการใช้ไฟทั้งปี ซึ่งตามความเป็นจริง ความต้องการในการใช้ไฟฟ้า แต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกันมากเช่น เวลากลางวันและกลางคืน ฤดูร้อนฤดูหนาว จึงไม่สามารถมาใช้เป็นมาตรฐานในการคำนวณ กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง ทั้งประเทศได้

การใช้หลักการคำนวณความเสี่ยงในการใช้ไฟฟ้า ที่เรียกว่าดัชนีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ หรือ LOLE เป็นการคำนวณที่น่าจะตรงกับหลักความเป็นจริงมากที่สุดคือเป็นการคำนวณจากการผลิตไฟฟ้าทุกรูปแบบทุกช่วงเวลา และนำเอาความไม่แน่นอนของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมาคำนวณด้วย เป็นหลักการคำนวณที่ใช้กันในประเทศยุโรปและสหรัฐฯ ค่าของ ดัชนีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ เป็นตัวเลขที่สะท้อนถึงความมั่นคงทางด้านพลังงานโดยตรง


ไทยรัฐ :https://www.thairath.co.th/news/politic/2664005?optimize=c

ศูนย์องค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

  เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

  

Copyright © 2022, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน