ฤาขยะกำพร้า จะช่วยแก้ปัญหาพลังงาน? | วนิดา ชูอักษร สิ่งแวดล้อม 15 มิถุนายน 2566   1,018 แท็ก : ขยะ

“ขยะกำพร้า” เป็นขยะที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ “จัดการขยะกลางทาง” หรือการจัดเก็บ รวบรวม คัดแยก ปรับปรุงสภาพให้มีคุณลักษณะเหมาะสมต่อการจัดการ

เนื่องจากขยะเหล่านี้ไม่มีที่ไป เป็นขยะที่ไม่มีใครเอา ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ หรือไม่คุ้มค่ากับการรีไซเคิล แม้แต่ซาเล้งเองก็ไม่รับซื้อ ส่งผลให้ปริมาณขยะกำพร้ามีปริมาณมากขึ้น และเกิดปัญหาขยะตกค้าง 

ส่วนขยะประเภทพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ช้อนส้อม ถุงพลาสติก ถ้วยพลาสติก แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก วัสดุกันกระแทก กล่องโฟม หรือบรรจุภัณฑ์ ขยะพวกนี้ถูกทิ้งเป็นขยะทั่วไป รอการนำไปกำจัด เช่นเดียวกับขยะประเภทเศษผ้า เศษกระดาษ ซองขนม เสื้อผ้าเก่า และที่นอนเก่า  จากการศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยทั่วประเทศ ปี 2564 ของกองการจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ พบว่า ขยะกำพร้ามีมากกว่าร้อยละ 20 ของน้ำหนักของขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด เฉพาะในกรุงเทพมหานครที่มีขยะเกิดขึ้นกว่าวันละ 10,000 ตัน มีองค์ประกอบเป็นพลาสติก และกระดาษที่ไม่สามารถรีไซเคิลถึงร้อยละ 21.7 ของน้ำหนัก

ปลายทางของขยะเหล่านี้มักจะไปสู่หลุมฝังกลบขยะ ซึ่งนับวันจะมีพื้นที่ในการฝังกลบลดลง และเป็นที่ทราบกันดีว่าหลุมฝังกลบขยะไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นใหม่ ทุกคนต่างเบือนหน้าหนี เพราะปัญหากลิ่นเหม็นและแมลง รวมทั้งปัญหาน้ำเสียและก๊าซที่เกิดขึ้น ทำให้มักได้รับการต่อต้านหรือร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่อยู่เสมอ หรือหากขยะกำพร้าเหล่านี้กำจัดไม่ถูกวิธี หรือไม่ถูกฝังกลบก็ลงเอยสู่ทะเล ซึ่งต้องรอเวลาอย่างน้อย 100-500 ปีกว่าจะย่อยสลาย และขนาดที่เล็กลงของขยะเหล่านี้อาจกลายเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศต่อไป


กรุงเทพธุรกิจ :https://www.bangkokbiznews.com/environment/1073488

ศูนย์องค์ความรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

  เลขที่ 17 ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

  

Copyright © 2022, กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน